วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง

หมู่บ้านช้างตากลาง
หมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่ ม.ที่ 9 และะ 13 บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศเหนือ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 214 (สุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ก่อนถึงอำเภอท่าตูม จะมีทางแยกซ้ายตรงหลักกิโลเมตรที่ 36 เข้าปากทางบ้านกระโพ ตรงเข้าไปตามถนนราดยางอีกประมาณ 22 กิโลเมตร ก็จะถึงเขตหมู่บ้านพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตนี้จะเป็นที่นาและป่าละเมาะสลับกับ ป่าโปร่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด บริเวณนี้จึงเหมาะสมกับการเลี้ยงช้างอย่างที่สุด

ชุมชนชาวส่วยหรือกูย หมู่บ้านช้างปราสาทยายเหงา 
    

ควาญช้างและช้าง
ชาวบ้านตากลางดั้งเดิมเป็นชาวส่วยหรือกูยหรือกวยที่มีความชำนาญในการคล้อง ช้างป่า ฝึกหัดช้าง และเลี้ยงช้าง ส่วนมากต้องเดินทางไปคล้องช้างบริเวณชายแดนต่อเขตประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ปัจจุบันสภาวะการเมืองระหว่างประเทศทำให้ชาวบ้านตากลางไม่สามารถไปคล้องช้าง เช่นแต่ก่อนได้ แต่ชาวบ้านตากลางยังคงเลี้ยงช้างและฝึกช้างเพื่อไปร่วมแสดงในงานช้างของ จังหวัดทุกปี การเลี้ยงช้างของชาวบ้านตากลางไม่เหมือนการเลี้ยงช้างไว้เป็นเพื่อน นอนร่วมชายคาเดียวกับตน ดังนั้นถ้าท่านได้ไปที่บ้านตากลาง นอกจากจะได้เห็นสภาพโรงช้างดังกล่าวแล้ว ยังจะได้สัมผัสการดำรงชีวิตของชาวส่วยพร้อมทั้งจะได้พบปะพูดคุยกับหมอช้าง ที่มีประสบการณ์ในการคล้องช้างมาแล้วหลายครั้งได้ตลอดเวลา และยังสามารถเดินทางชมจุดบริเวณที่แม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลมารวมกัน ซึ่งห่างออกไปเพียง 3 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่งดงามน่าพักผ่อนหย่อนใจและชวนให้ศึกษาในเชิงของธรรมชาติด้วย

หมอช้างทำพิธีบวงทรวง
ช้างแสดงการยืนสองขาบนเก้าอี้
นอกจากนี้ทางจังหวัดยังได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างขึ้นในหมู่บ้านด้วย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อเก็บรวบรวมประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับช้าง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการคล้องช้าง และให้ความรู้ในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับช้าง และจะมีการแสดงช้างให้ชมเป็นประจำทุกๆวัน วันละ 2 รอบ เช้า-บ่าย รอบเช้า เวลา 10.00 น. รอบบ่ายเวลา 14.00 น. ที่บริเวณลานแสดงของศูนย์คชศึกษา อัตราค่าเข้าชม ชาวไทยผู้ใหญ่คนละ 50 บาท เด็ก 20 บาท นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบฟรี ช่าวต่างประเทศ คนละ 100 บาท ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและจองการแสดงล่างหน้าได้ที่ ศูนย์คชศึกษา โทร 0-4451-7461, นายธงชัย มุ่งเจริญพร นายก อบจ.สุรินทร์ โทร.0-1877-4324, นางสิรีนาถ เกิดเหมาะ ผู้จัดการศูนย์คชศึกษา โทร.0-1879-2773, นายกฤตพล ศาลางาม ผู้ช่วยจัดการศูนย์ศชศึกษา โทร.0-1977-5319, องค์การบริหารส่วนตำบลกระโพ โทร.0-4450-3703, 0-1878-5264

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

ชาติพันธุิ์

ชาติพันธุิ์
Skip to main content
หน้าแรก Toggle navigation
ชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ ชาติพันธุ์ส่วย (Suay)
ชาติพันธุ์ส่วย (Suay)
ชาติพันธุ์ส่วย (Suay)
ชาติพันธุ์เขมร (Khmer)
ชาติพันธุ์ลาว (Laos)
ชาติพันธุ์เยอ (Yer)
แผนที่จัดหวัดศรีสะเกษ
แสดงแผนที่ขนาดใหญ่
เป็นคนอีกเผ่าหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในด้านวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พี่น้องชาวส่วยมีกระจายอยู่หลายจังหวัดทางภาคอีสานตอนล่าง คือ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และมีบ้างประปรายที่อุบลราชธานี นครราชสีมา มหาสารคามและร้อยเอ็ด ที่มีอยู่หนาแน่น ได้แก่ ศรีสะเกษ

ชาติพันธุ์และความหมาย
กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้ เรียกตนเองว่า กูย กุย โกย หรือ กวย ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะการออกเสียงของแต่ละถิ่นและพบว่าตำราที่เขียนเป็นภาษาต่างประเทศ ก็เขียนแตกต่างกันตามวิธีคิดของผู้ศึกษาค้นคว้าแต่ละคนเช่นเดียวกัน เช่น เขียนว่า kuy, kui, koui, kouei และ kouai

ถึงแม้ชนพื้นเมืองจะออกเสียงสระแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น ชนพื้นเมืองต่างก็ให้ความหมายของคำว่า กูย กุย โกย หรือ โกย ไว้อย่างมีเอกภาพ คือมีความหมายว่า คน ทั้งสิ้น การให้ความหมายไว้ในลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมสะท้อนให้เห็นหรือทัศนะการมองโลกว่า กลุ่มของตนเองนั้น มีสถานภาพที่แตกต่างจากสัตว์ และมีความเท่าเทียมกันกับมนุษย์ในวัฒนธรรมอื่น ๆ เสมอ ความคิดนี้อาจเกิดจากการที่ชาวกูยถูกเรียกจากคนลาวหรือคนไทยว่า ส่วย อันหมายถึงสิ่งของที่ต้องนำส่งให้ชนชั้นผู้ปกครอง แสดงถึงความต่ำต้อยความเป็นขี้ข้า ความล้าหลัง ความด้อยกว่าชนเผ่าอื่น เพื่อมิให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชนกลุ่มนี้ จึงเสนอให้ใช้คำว่า กูย เพียงคำเดียว

ถิ่นฐานของชาวกูยในประเทศไทย
เนื่องจากชาวกูยตั้งถิ่นฐานปะปนกับชาวเขมรสูงและชาวลาว จึงมีการติดต่อแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมกันมาตามวิสัยและทำให้ชาวกูยถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเขมรสูงและวัฒนธรรมลาว ดังจะเห็นได้จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่ตั้งเมืองสุรินทร์ใหม่ ๆ นั้นมีคนกูยทั้งเมือง ชาวเขมรสูงมีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย แต่นานวันเข้าวัฒนธรรมของเขมรสูงก็ค่อยเข้ามามีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมของชาวกูย ชาวกูยจึงถูกกลืนเข้าไปเป็นคนเขมรเกือบหมด

เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ จังหวัดศรีสะเกษยังเป็นเมืองที่มีชาวกูยอาศัยอยู่กันทั้งเมือง มีพวกลาวเวียง (สาขาเวียงจันทน์) ปะปนอยู่บ้างบางหมู่บ้าน แต่วัฒนธรรมของลาวได้เข้ามามีอิทธิพลในหมู่ชาวกูย จึงทำให้มีการผสมผสานวัฒนธรรม ชาวกูยที่นี่พูดภาษาลาวด้วยสำเนียงส่วยโดยสามารถใช้สระเอือได้ ในขณะที่ภาษาลาวเวียงเดิมมีแต่สระเอีย ร่องรอยที่แสดงว่าศรีสะเกษเดิมเป็นเมืองที่ชาวกูยอยู่กันทั้งเมืองก็คือตังเลขสำมะโนครัวสมัยนั้นและการเรียกขานชาวศรีสะเกษว่า ส่วยศรีสะเกษ อยู่จนทุกวันนี้ ด้วยสาเหตุที่จะดัดแปลงพัฒนาตนเองให้เข้ากบวัฒนธรรมที่ตนคิดว่าสูงกว่าดีกว่า จึงทำให้ภาษาและวัฒนธรรมกูย นับวันแต่จะหมดสิ้นไป

ภาษาของชาวกูย
ภาษาดั้งเดิมของมนุษย์ที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภาษาออสโตรเนเชียน (Austronesian) ซึ่งเป็นภาษาคำติดได้แก่ ภาษาชวา-มลายู และภาษาจาม ซึ่งเดิมมีประชากรอยู่ในเวียดนามและรวมพวกข่าระแด ข่าจะรวย ซึ่งเป็นสาขาย่อยของพวกข่าเข้าด้วยกัน

นักภาษาศาสตร์ จัดภาษากูยอยู่ในกลุ่มภาษาเดียวกับภาษามอญ-เขมร สาขา katuic ตะวันตก ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก ชาวกูยแต่ละถิ่นจะมีการใช้สำเนียงภาษาที่แตกต่างกันไป แต่ถ้าหากใช้ระบบเสียงมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งอาจแบ่งภาษากูยออกได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มภาษากูย (กุย-กูย) และกลุ่มภาษากวย (กูย-กวย) ส่วนภาษากูยกลุ่มเล็กๆ ที่พบได้แก่

กูยเยอ (kui nhe) พูดกันในหมู่บ้าน ๑๐ หมู่บ้าน ในอำเภอศรีสะเกษ ๕ หมู่บ้านในอำเภอไพรบึง และ ๔ หมู่บ้านในอำเภอราษีไศล มีประมาณ ๘,๐๐๐ คน
กูยไม (kui nthaw/kui m’ai) พูดใน ๕ หมู่บ้านในอำเภอราษีไศล ๙ หมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียง เขตอำเภออุทุมพรพิสัย หมู่บ้านทั้งหมดนี้ ชาวกูยจะอาศัยรวมอยู่กับชนกลุ่มลาว
กูยปรือใหญ่ (kui pui jai) พูดใน ๕ หมู่บ้านของตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์
ภาษากูยถิ่นปรือใหญ่ สันนิษฐานว่าอาจเป็นตัวแทนของกลุ่มกูยที่เพิ่งอพยพมาจากเขมร จากบริเวณมะลูไปร (มโนไพร, มะลูเปร) ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสตึงเตรง ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองกำปงธมและเมืองกำปงสวาย ส่วนกลุ่มภาษากุย-กูย ถือว่าเป็นประชากรกลุ่มใหญ่กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

ในปัจจุบัน ชาวกูยส่วนใหญ่พูดได้ทั้งภาษากูยและภาษาไทยกลาง ในชุมชนกูยที่ไม่มีผู้พูดภาษาไทยถิ่นอีสานอาศัยปะปน จะไม่มีการใช้ภาษาไทยถิ่นอีสาน ในชุมชนกูยที่มีคนเขมรและคนลาวอาศัยปะปนกัน จะพูดภาษากันและกันได้

คนไทยรู้จักพวก กวย กุย กูย ในฐานะชนชาติหนึ่งมานานแล้ว ในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ.๑๙๗๔ ปีกุน รัชกาลเจ้าสามพระยา (รัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒)ได้ประกาศห้ามยกลูกสาวให้แก่คนต่างชาติต่างศาสนา ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ กปิตัน วิลันดา กุลา ชวา มลายู แขก กวย แกว และในมาตรา ๒๕ ของกฎหมายปีเดียวกันนั้น ก็กล่าวถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศสยาม ว่ามีแขกพราหมณ์ ญวน (แกว) ฝรั่ง อังกฤษ จีน จาม วิลันดา ชาว มลายู กวย ขอม พม่า รามัญ แสดงว่า กวยเป็นชนอิสระอีกชนชาติหนึ่ง

ไพฑูรย์ มีกุศล อธิบายไว้ว่าจากกฎหมายฉบับ พ.ศ.๑๙๗๔ ได้ระบุว่าพ่อค้าจากดินแดนใกล้เคียง ที่เดินทางเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาได้แก่ ชาวอินเดีย มาเลย์ ชาน (ไทยใหญ่) แกว กวย ซึ่งเรียกตนเองว่า กวยหรือกุย หรือกูย ตามภาษาพูดของตนเอง และยังมีหลักฐานสำคัญที่ระบุเวลาอยู่ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ได้กล่าวถึงกษัตริย์ของเขมรที่นครธมได้ทรงขอให้กวยแห่งตะบองขะมุม ที่มีเมืองสำคัญทางตอนใต้ของเมืองนครจำปาศักดิ์ให้ส่งทหารไปช่วยพระองค์ปราบขบถ เมื่อกองทัพของพระเจ้าธรรมราชาแห่งนครธม และเจ้ากวยแห่งตะบองขะมุมได้ปราบขบถสำเร็จแล้ว ประมุขของทั้งสองฝ่ายได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ เหตุการณ์ภายหลังจากนี้ไม่ระบุในที่อื่น ๆ อีกเลย จึงกล่าวได้ว่าชนชาวกวยเคยมีการปกครองเป็นอิสระในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เคยส่งทูตมาค้าขายกับราชสำนักอยุธยา และเคยช่วยกษัตริย์เขมรแห่งนครธมปราบขบถได้สำเร็จ ต่อมาเขมรปราบปรามกวยได้และรวมอยู่ใต้การปกครองของเขมร

ไพฑูรย์ สุนทรารักษ์ กล่าวว่ากูยเป็นเผ่ามอญเขมรเดิมพวกหนึ่งเรียกว่า เชื้อชาติมุณฑ์ ซึ่งอพยพมาจากอินเดียเมื่อครั้งถูกอารยันรุกราน โดยอพยพมาทางตะวันออกจนถึงลุ่มแม่น้ำดง (สาละวิน) และแม่น้ำของ (โขง ) ตอนบน พวกที่อพยพไปทางแม่น้ำคงกลายเป็นบรรพบุรุษของพวกมอญหรือรามัญ พวกผู้ที่อพยพไปตามแม่น้ำของ (โขง) บางพวกไปอาศัยอยู่ตามที่ราบสูงแถบเทือกเขาด็องแร็ก (ดงรัก) บางพวกเลยไปถึงที่ราบต่ำบริวณทะเลสาบใหญ่และชายทะเล ต่อมาได้กลายเป็นบรรพบุรุษของพวกเขมรหรอแขมร์ และพวกที่อยู่ตามป่าเขาต่าง ๆ เรียกว่า ลั้วะ ข่า ขมุ ส่วย กวยหรือกูย แตกต่างกันไป

จากหลักฐานอ้างอิงที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ชนเผ่ากุย กูย กวย ได้มีภูมิลำเนาเดิมอยู่เป็นปึกแผ่นมีอาณาเขตปกครองตนเองอยู่อย่างมั่นคงมาก่อน จนเป็นที่ยอมรับจากต่างชาติเช่นเดียวกับชนชาติอื่น ๆ หลักฐานที่อ้างถึงได้ชี้ชัดเจนว่าเป็นช่วงศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ ได้มีอาณาจักรของชนเผ่ากูยตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้อย่างแน่นอน และสันนิษฐานว่าจะอยู่ตอนใต้ของลาว และตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา โดยอาณาจักรดังกล่าวนี้ มีความสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยาด้วย

ชาวกูยชอบอพยพเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ เพื่อแสวงหาที่ดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก นอกเหนือจากอยู่ในประเทศกัมพูชาแล้ว ชาวกูยยังมีมากในบริเวณเมืองอัตปือแสนปาง จำปาศักดิ์และสาละวัน ในบริเวณตอนใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชิธิปไตยประชาชนลาว แต่เนื่องจากต้องประสบภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม หรือฝนแล้ง รวมทั้งภัยทางการเมือง ชาวกูยจึงอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ภาคอีสาน ซึ่งชาวกูยเรียกแก่งกะซันพืด ( แก่งงูใหญ่ ) และในเขตอำเภอโขงเจียม ซึ่งชาวกูยเรียกว่า โพงเจียง (ฝูงช้าง) หลังจากนั้นลูกหลานชาวกูย ก็แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือน ที่ จังหวัดอุบลราชธานี ที่บ้านเจียงอี ซึ่งภาษากูย แปลว่าช้างป่วย ในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน นับว่าในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ กูย ลาว เขมร ชาวกูยเป็นชนชาติดั้งเดิม ที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่ของอีสานใต้เป็นกลุ่มแรก

การอพยพเข้ามาในประเทศไทยทางตอนล่างของภาคอีสานนั้น เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑) และได้มีการอพยพครั้งใหญ่เข้ามาใน จังหวัดสุรินทร์ และศรีสะเกษอีก ในยุคปลายของกรุงศรีอยุธยาไปจนถึงสมัยธนบุรี (พ.ศ.๒๒๔๕-๒๓๒๖) ชาวกูยแต่ละกลุ่มที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่ง หรือหาบริเวณล่าช้างแหล่งใหม่ เพราะชาวกูยมีความชำนาญในการเดินป่า การล่าช้างและฝึกช้าง การอพยพได้หยุดลงในสมัย รัชกาลที่ ๔ ในเวลาต่อมาได้มีการโยกย้ายไปอยู่ยังจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดมหาสารคาม ชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ เรียกหมู่บ้านที่ชาวกูยที่ชาวกูยโยกย้ายไปว่าเป็น หมู่บ้านใหม่ การใช้ภาษาระหว่างชาวกูยกลุ่มเดิม และกลุ่มที่โยกย้ายยังคงมีความเข้าใจกันได้เป็นอย่างดี เพราะยังติดต่อกันอยู่

ประวัติความเป็นมา
ตำนานของชาวเยอในศรีสะเกษ จะเริ่มต้นที่ พญากตะศิลา เป็นหัวหน้านำคนเผ่าเยอ อพยพมาโดยทางเรือ มาตั้งเมืองคงโคกหรือเมืองคงปัจจุบันนี้ ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ และเป็นเส้นทางคมนาคมในการติดต่อค้าขาย มูลเหตุของการตั้งชื่อเมืองอาจมาจาก การที่พื้นที่เหล่านี้อาจมีป่ามะม่วงมาก่อนแล้ว หรือมีการปลูกไม้ผล เช่น ขนุน มะม่วง มะนาว มะพร้าว ฯลฯ ผลไม้ที่ปลูกง่ายและให้ผลเร็ว คือมะม่วง มะม่วงภาษาเยอเรียกว่า เยาะค็อง หรือ เยาะก็อง ต้นมะม่วงมีอยู่จำนวนมาก จึงเรียกเมืองตัวเองว่า เมืองเยาะค็อง หรือเพี้ยนไปเป็นเมืองคอง – เมืองคง ในที่สุด ปัจจุบันมีรูปปั้นพญากตะศิลาที่บึงคงโคก บ้านหลุบโมก ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่เคารพของชาวเยอ และมีกาบวงสรวงในวันเพ็ญเดือนสามของทุกปี

การอพยพของพญากตะศิลา เป็นคำบอกเล่าที่น่าสนใจ เพราะใช้เรือส่วง (เรือยาวที่ใช้พายแข่งขันกัน) ๒ ลำ เรือลำที่ ๑ ชื่อ คำผาย เรือลำที่ ๒ ชื่อ คำม่วน แต่ลำบรรจุคนได้ประมาณ ๔๐-๕๐ คน พายจากลำน้ำโขงเข้าปากแม่น้ำมูล รอนแรมทวนกระแสน้ำขึ้นมาเรื่อย ๆ ผ่านเมืองไหนก็บอกกล่าวเจ้าเมืองนั้นว่าจะไปตั้งเมืองใหม่อยู่ เจ้าเมือง ๆ นั้นก็ให้ไปเลือกอยู่ตามที่เห็นเหมาะสม ถึงบ้านท่า ตำบลส้มป่อย ก็พาไพร่พลแวะพักแรม รุ่งขึ้นวันใหม่ก็นำพวกออกสำรวจหาพื้นที่ตั้งเมือง มาเห็นเมืองร้างเป็นเนินดินสูงมีคูน้ำล้อมรอบ ที่บึงคงโคกทุกวันนี้ เห็นว่ามีสภาพภูมิประเทศเหมาะสม ก็นำไพร่พลตั้งบ้านเรือน ปัจจุบันที่เมืองคงโคกมีศาล และรูปปั้นของพญากตะศิลา เป็นที่เคารพสักการะบนบานของชาวบ้านเป็นประจำ

ต่อมาเมื่อจำนวนพลเมืองเพิ่มมากขึ้นก็ขยายกันมาอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่บ้านกลาง บ้านใหญ่ บ้านโนน และบ้านท่าโพธิ์ รวมเรียกว่าเมืองคง เวลาผ่านไปมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงอพยพไปตั้งหมู่บ้านใหม่ในที่ต่าง ๆ เช่น ทิศเหนือ ที่บ้านหว้าน ทิศใต้ข้ามลำน้ำมูล ที่บ้านค้อเยอ บ้านขมิ้น บ้านโนนแกด อำเภอเมืองศรีสะเกษ บางส่วนเลยไปที่บ้านโพนปลัด อำเภอพยุห์ บ้านปราสาทเยอ บ้านประอาง อำเภอไพรบึง ทางทิศตะวันตกไปที่บ้านกุง บ้านเชือก บ้านจิก บ้านขาม และบางส่วนเลยทุ่งกุลาร้องไห้ไปที่บ้านอีเม้ง บ้านหัวหมู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ศาสนา พิธีกรรม และความเชื่อ
ความเชื่อทางศาสนาของชาวกูยมีลักษณะผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธและการนับถือผี (animism) ภายในชุมชนชาวกูยจะมีทั้งวัดและศาลผีประจำหมู่บ้าน ชาวกูยบูชาผีบรรพบุรุษ ซึ่งเรียกว่า ยะจัวะฮ บนบ้านจะมีหิ้งบูชาผีบรรพบุรุษ มีธูปเทียนและกรวยที่เย็บจากใบตอง บางบ้านก็จะสร้างเป็นศาลผีบรรพบุรุษไว้ใกล้กับศาลเจ้าที่ บ้านที่ไม่มีหิ้งหรือศาลก็อาจจะไปไหว้ผีบรรพบุรุษที่หิ้งหรือศาลของญาติพี่น้อง บ้านส่วนใหญ่จะมีหิ้งบูชาพระพุทธรูปไว้ในบ้าน และจะสร้างศาลผีบรรพบุรุษไว้ใกล้บ้าน การเซ่นบรรพบุรุษจะกระทำอย่างน้อยปีละครั้ง ชาวบ้านจะเริ่มพิธีโดยเอาข้าวสุก เหล้า เนื้อสัตว์ที่สุกแล้ว กรวยใบตอง ผ้า สตางค์ หมากพลู เอามาวางไว้ใต้หิ้งบูชา ทำพิธีเซ่นโดยเอาน้ำตาลโรยบนข้าวสุก จุดเทียนปักลงที่ข้าว แล้วกล่าวขอให้ผีบรรพบุรุษคุ้มครองให้ครอบครัวเจริญรุ่งเรือง ในณะที่กล่าวก็เอาเหล้าค่อย ๆ รินลงขันอีกใบ เหมือนการกรวดน้ำเสร็จแล้วก็หยิบของที่ใช้เซ่นอย่างละนิดไปวางบนหิ้ง ที่เหลือก็เอาไว้รับประทานและใช้เอง

การเซ่นผีบรรพบุรุษนี้อาจจัดขึ้นในวาระอื่น ๆ เช่น เมื่อมีเด็กคลอดได้ ๒-๓ วัน ก็จะทำพิธีดับไฟ โดยบอกกล่าวหมอตำแย และญาติผู้ใหญ่มาร่วมพิธี จัดขนม กล้วย ข้าวต้มมัด มาเซ่นผีบรรพบุรุษบอกว่ามีลูกมีหลานมาเกิดใหม่ เด็กเมื่อคลอดแล้ว จะมี ครูกำเนิด ซึ่งเป็นครูประจำตัว จะต้องจัดเครื่องสักการะบูชาครูไว้บนหัวนอนของตนเองเสมอ ครูจะช่วยคุ้มครองให้มีความสุข ความเจริญ หากมีการผิดครูจะเป็นอันตราย

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

พิธีปะชิหมอช้างรุ่นสุดท้าย อัญเชิญบรรพบุรุษรับเครื่องเซ่นไหว้

 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่วัดป่าอาเจียง บ้านช้างหนองบัว ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ หลวงพ่อพระครูสมุห์หาญ ปญญาธโร เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ป่าอาเจียง ร่วมกับเจ้าหน้าที่คชอาณาจักร องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย นายบุญมา แสนดี อายุ 87 ปี หมอช้างใหญ่ ประจำหมู่บ้านช้าง ที่เคยออกคล้องช้างป่า ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก ชายแดนไทย-กัมพูชา ได้มากถึง 50 กว่าเชือก ร่วมกันประกอบพิธีเซ่นไหว้ศาลครูประกำช้าง ที่ควาญช้างคนเลี้ยงช้างเคารพนับถือเป็นที่สิงสถิตย์ พระหมอเฒ่า ต้นตำรับของตำนานคนคล้องช้าง และเป็นที่เก็บเชือกคล้องช้าง หรือเชือกประกำ ใช้คล้องช้างป่าในอดีต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประกอบพิธีนายบุญมา แสนดี ถือเป็นหมอช้างรุ่นสุดท้าย ได้นำบรรดาควาญช้างที่ได้รับการเลื่อนขั้นมาเป็นหมอช้าง ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เซ่นพระครูปะกำ อัญเชิญผีปะกำและวิญญาณบรรพบุรุษรับเครื่องเซ่นไหว้ ซึ่งเป็นพิธีที่ทำหลังจากพิธีประชิ เพื่อให้ได้เป็นหมอช้างที่สมบูรณ์ ถ้าเป็นคนก็เปรียบเหมือนการบวชนาคนั่นเอง และเมื่อประชิเสร็จแล้วก็จะเป็นหมอสะเดียงสามารถคล้องช้างได้ 1 ตัวขึ้นไป หมอสดัม คล้องช้างได้ 10 ตัว และตำแหน่งสูงสุดคือครูบาใหญ่ คล้องช้างได้นับสิบๆตัว

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การแต่งกาย

การแต่งกายของชาวกูยไม่แพ้เผ่าใดจงภูมิใจขอโพสทิ้งทายของวันนี้ครับอีกนานเลยจะได้มาพบปะอีกไฮปัดจีมวยดวงดูนแต่เจามวยดวงโพสวีคลังไปปอนเรื่องตลอด.... ภาพนี้เปนภาพชนะเลิศการประกวดจากมหาลัยขอนแก่นเปนการแต่งกายของชาวกวยเนื่องในวันอนุรักษ์วันช้างไทย..เคยมีคนสงสัยและมักถามตลอดว่านี้คือชุดของชาวเยอและมักพูดว่าเยอไม่ใช่กูย...แต่ความจิงแล้วภาษาเยอคือภาษากูยที่พูดเหมือนกันถึง70%แตกต่างกันเพียง30%และสำเนียงไม่เหมือน..ผมเคยพูดคุยกับเยอเขาบอกว่าพวกเขาไม่ใช่กูยแต่เปนกวยเยอเล่นเอาผมงงไปพักใหญ่แต่ความจิงก็คือความจิงก็เยอกับกูยอาศัยอยู่รวมกันมีบรรพบุรุษและวัฒนธรรมเดียวกันอพยพย้ายถิ่นมากับกูยเราแต่ชาวเยอเขาบอกว่าเขาไม่ใช่กูย..เหมือนตอนผมได้คุยกับชาวโซ้และชาวข่าภาษาเขาแตกต่างจากเราถึง70%มีที่เหมือนเราแค่เพียงไม่ถึง30%แต่เขากลับบอกว่าเราคือญาติกันชาติพันธเดียวกัน... จากข้อมูลนักวิชาการหลายท่านบอกว่าถ้าจัดโดยกลุ่มใหญ่ชาวกูยคือชาติพันธ์มอญเขมรมีบรรพบุุรุษร่วมกันแต่ครั้งขอมโบราณภาษากูยจึงเหมือนเขมรบางส่วนเหมือนมอญบางส่วนแต่ถ้าเปนกลุ่มย่อยชาวโซ่ชาวข่าชาวเยอจัดอยู่ในชาติพันธ์กูยแต่ชาวเยอจะใกล้ชิดเรามากเพราะภาษาเหมือนเราถึง70%ถ้าจะแยกการแต่งกายกูยกับเยอชาวกูยมักนุ้งซิ้นเข็นสีดำแดงม่วงแดงเขียวแดงแต่ชาวเยอจะนุ้งซิ้นเข็นสีเขียวภาพนี้คือชาวกูยเลี้ยงช้างนะครับกูยร้อยเปอร์เซ็น ถูกใจ

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

ภาษา ส่วย กวย กูย

ภาษา กูย

ภาษาปัลลวะ..เป็นภาษาดั้งเดิมที่ชาวกูยใช้มาก่อ
น..ก่อนที่จะดัดแปลงมาเป็นอักษรขอมและอักษรมอญ.
.ส่วนอักษรขอมแยกเป็นขอมโบราณและขอมปัจจุบัน...
ส่วนอักษรมอญแยกเป็นมอญโบราณและมอญปัจจุบัน...เป็นที่มาเมื่อครั้งจัดประชุมสัญจรครั้งที่2โรงเ
รียนแตลศิริ แล้วตัวแทนชนเผ่ามาร่วมงานกว่า30ชนเผ่า 1ในนั้นเป็นชาวมอญและผมพาไปเยี่
ยมบ้านอาลึหมู่บ้านชาวกูยปรากฏว่าสื่อสารกันได้ นับเหมือนกัน

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

การโพนช้าง

การโพนช้าง 
การจับช้างป่านั้นมีอยู่หลายวิธี แต่เป็นวิธีคล้องช้างที่ชาวกวยบ้านตากลางสืบทอดมาแต่โบราณ โดยผู้ที่จะร่วมคณะหมอช้างออกคล้องช้างป่าด้นั้นจะต้องได้รับการประชิเป็นหมอช้างก่อน การคล้องช้างแบบนี้เป็นวิธีจับช้างป่าที่เสี่ยงอันตรายเป็นอย่างมาก แต่ทั้ง ๆ ที่อันตรายชาวตากลางก็ยอมเสี่ยง เพราะถือว่าที่สุดของคนเลี้ยงช้างก็คือ การได้ประชิเป็นหมอและมีโอกาสติดตามคณะหมอช้างออกไปคล้องช้างป่าหรือถ้าไม่ได้ประชิเป็นหมอ หากได้ติดตามออกไปคล้องช้างป่าในฐานะมะเด็กท้ายช้างของหมอช้างก็ถือว่าไม่เสียทีที่เกิดมาเป้นคนเลี้ยงช้างแห่งบ้านตากลาง
อุปกรณ์ในการโพนช้าง
ในการออกคล้องช้างแต่ละครั้งนั้น ชาวกวยต้องเตรียมอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้มากมาย ทั้งที่เกี่ยวกับการคล้องช้างและการยังชีพ ซึ่งประกอบด้วย 
- หนังประกรรม เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เชือกบาศก์ ทำมาจากหนังกระบือสามเส้นนำมาฟั่นเป็นเกลียว
- ไม้คันจาม เป็นไม้ยาวที่ใช้เสียบต่อเข้ากับแขนนางซึ่งติดอยู่กับเชือกประกรรม ไม้คันจามนี้ทำจากไม้เนื้อแข็งหรือไม้ไผ่รวก 
- ทาม คืออุปกรณ์ที่ใช้ผูกคอช้างป่าที่คล้องได้ โดยทามนี้จะทำจากหนังกระบือเช่นเดียวกับหนังประกรรม
- สายโยง คืออุปกรณ์ที่ใช้ผูกช้างป่ากับต้นไม้หรือกับช้างต่อ โดยแยกเป็นสายโยงที่ผูกช้างป่ากับต้นไม้เรียกว่า “โยงละ” ส่วนสายโยงที่ใช้จูงช้างขณะเดินทางเรียกว่า “สายโยงเตอะ” 
- สะลก คือเชือกที่ใช้ผูกคอช้างต่อทำจากหนังกระบือ
- โทน คือโครงทำด้วยไม้ใช้เก็บหนังประกรรมขณะเดินทางเข้ป่า รวมของใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นในการออกไปคล้องช้างป่า โทนทำด้วยไม้มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม
- สายประโคน ทำด้วยหวายใช้ยึดโทนให้ติดกับหลังช้าง
- หางกระแชง เป็นสายหนังหรือเป็นเชือกที่ใช้ผูกโทนกับสายประโคน
- แผนกนำ ทำจากหนังกระบือ แผนกนำนี้ใช้ผูกกับสายประโคนดึงไปทางท้ายช้างให้มะจับยึดเวลาช้างวิ่งจะได้ไม่ตก
- สายชะนัก ใช้สวมที่คอช้างสำหรับหมอช้างคีบเวลาขี่ช้างต่อไล่ช้างป่าจะได้ไม่พลัดตก
- ไม้งก เป็นไม้สำหรับตีท้ายช้างขณะไล่คล้องช้างป่าเพื่อเร่งความเร็วของช้างต่อ ไม้งกทำจากไม้เนื้อแข็งรูปร่างกลมแบนโค้งงอคล้ายตัวแอล
- สะแนงเกล (สะไน) เป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณด้วยเสียงทำด้วยเขาควายใช้เป่าเมื่อเคลื่อนขบวนช้างต่อทั้งขาไปและขากลับ
- สนับมุก คือถุงใส่ของใช้ส่วนตัวของหมอหรือมะ สนับมุกถักด้วยปอ หรือป่าน
- เขาวัว ทำจากหวายสองเส้นถักเป็นวงกลม มัดไว้ที่หัวและท้ายโทนเขาวัวใช้สอดเก็บถุง
- ข้าวสารและของใช้อื่น ๆ
- หนังลิว เป็นเชือกหนังกระบือเส้นเล็ก ๆ จะทำไว้ยาวมากจนต้องขดเป็นวงมัดเก็บไว้ เชือกลิวนี้ใช้ผูกมัดห่วงทามเข้าด้วยกันหรือมัดสายโยงกับกาหรั่น มัดสะลกที่คอช้างต่อและอย่างอื่น ๆ โดยตัดออกไปตามความยาวที่ต้องการ
- กระตาซอง เป็นภาชนะใส่สัมภาระพวกมีดพร้าทำด้วยหวายลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทรงกระบอก
- สะยาว เป็นถุงใส่สัมภาระถักด้วยปอหรือป่านมีลักษณะเป็นถุงทรงยาว
- บังพริก เป็นกระบอกใส่เกลือทำจากไม้ไผ่ โดยทำเดือยสวมเข้าหากัน
- อาห์ตุงเหดะ เป็นกระบอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ทะลุปล้องกลางออกให้ถึงกันเหลือเพียงปล้องหัวท้าย ส่วนหัวคว้านออกใช้ใส่น้ำใช้สอยขณะออกคล้องช้างในป่า
- กระเบอะตรวจ เป็นจานใช้ใส่ข้าวลักษณะคล้ายพานสาน ขึ้นมาจากไม้ไผ่
- กระไทครู เป็นผ้าคาดเอวสำหรับหมอช้างภายในมีเครื่องรางของขลัง
- โปรเดียง เป็นไม้เนื้อแข็งทำเป็นรูปเขาควายคู่ ใช้ป้องกันเชือกบิดเกลียว
- ขอลอง ทำจากไม้เนื้อแข็งขนาดและรูปทรงคล้ายเขาควายใช้ถักซ่อมแซมเชือกหนัง คล้ายลิ่มช่วยงัดสายที่แข็ง แทนมือ
- พนธุง เป็นถุงถักด้วยปอหรือป่าน ปากกว้างมีหูรูด หมอช้างใช้ใส่ยาสูบ กระปุกปูนหรือของใช้ส่วนตัว
ฤดูโพนช้าง
ในปีหนึ่งบรรดาหมอช้างจะยกขบวนออกไปคล้องช้างป่ากันหลายคณะ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคมยกเว้นช่วงฤดูแล้ง ซึ่งน้ำหายากช้างป่าไม่ออกมาที่ทุ่งราบ โดยแต่ละครั้งจะใช้เวลานาน 4 – 5 เดือนหรือมากกว่าไม่แน่นอนแล้วแต่ว่าจะได้ช้างพอแล้วหรือข้าวสารจะหมดเมื่อใด 

แต่ก่อนที่คณะหมอช้างจะออกเดินทางไปคล้องช้างป่า กรรมหลวงหรือครูบาใหญ่จะเรียกหมอช้างอันดับรอง ๆ ทั้งหมอสดำ หมอเสดียง หมอจา ที่เคยออกโพนช้างด้วยกันไปปรึกษาหารือที่บ้านกรมหลวง ว่าจะไปคล้องช้างที่ป่าไหน หลังจากนั้นกรมหลวงก็จะบอกให้หมอช้างคนหนึ่งไปปรึกษาหมอดู เพื่อดูฤกษ์ยามว่าจะไปในวันใดจึงจะมีโชคจับช้างได้มาก ส่วนช้างต่อ หมอช้างคนใดที่ยังไม่มี ก็อาจจะขอยืมจากญาติ และช้างต่อที่ดีนั้นต้องมีรูปร่างแข็งแรงใหญ่โต มีนิสัยกล้าหาญไม่กลัวช้างป่า วิ่งได้รวดเร็ว ยิ่งช้างต่อที่เคยมีประสบการณ์มาแล้วยิ่งดี และจะเป็นช้างพลายช้างสีดอ หรือช้างพังก็ได้

พิธีเซ่นหนังประกรรมและเสี่ยงทายกระดูกคางไก่
เมื่อถึงวันนัดหมายบรรดาผู้ที่ร่วมขบวนออกไปคล้องช้างทุกคนทั้งหมอช้างและมะจะจัดเตรียมของเซ่นผีประกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย 
• ไก่ต้มหนึ่งตัว
• เหล้าขาวหนึ่งขวด
• เทียนไขหนึ่งคู่
• ขันธ์ 5 (กรวยใบตองใส่ดอกไม้ห้ากรวย)
• บุหรี่สองมวน
• หมากสองคำ
• สำหรับกับข้าว 1 ชุด
• ด้ายดำแดง
• โสร่ง
• ขมิ้น
• เงิน 12 บาท

เมื่อได้เวลาทั้งหมอกับมะ ก็จะจัดนำของไหว้ไปที่ศาลประกรรมของตนเองจุดเทียน และยกของที่เตรียมไว้เซ่นหนังประกรรม จากนั้น มะก็จะเอาช้างต่อมาเทียบศาลปะกรรม แล้วหมอก็จะเอาเปลือกกระโดนและแผ่นหนังปูบนหลังช้างส่งให้มะ แผ่นกระโดนและแผ่นหนังนี้จะช่วยป้องกันหลังไม่ให้แตกจากการกดทับของสัมภาระ จากนั้นหมอก็จะเอาโทนขึ้นตั้ง ผูกรัดตีนโทนข้างหนึ่งอ้อมใต้ท้องช้างมามัดกับตีนโทนอีกข้างหนึ่ง จนมั่นคงเสร็จแล้ว หมอก็จะกล่าวอัญเชิญหนังปะกำ หลังจากนั้น หมอก็จัดส่งหนังประกรรมให้มะวางบนโทน ตามด้วยอุปกรณ์อื่น ๆ เช่นทามและหนังเรียว ไม้คันจาม ฯลฯ  เมื่อเตรียมข้าวของพร้อมแล้วหมอและมะก็จะสั่งเสียบุตรภรรยา ให้ยึดมั่นในข้อปฏิบัติที่คนทางบ้านต้องถือให้ครบ เพื่อความปลอดภัยขณะออกป่าไปโพนช้าง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายข้อเช่น
- ห้ามปัดกวาดที่นอน บ้านเรือน ถ้ามีเศษผงให้หยิบจับไปใส่ตะกร้าทิ้งให้ไกลบ้าน
- ห้ามขึ้นนั่งนอนบนที่นอน
- ห้านรับแขกบนเรือน
- ห้ามทิ้งของจากบนบ้านลงพื้นดิน
- ห้ามคนนอกครอบครัวค้างคืนที่บ้าน
- ห้ามภรรยาแต่งตัว แต่งหน้า หวีผม ตัดผมหรือร้องรำทำเพลง
- ห้ามนั่งบนขั้นบันไดบ้าน
- ห้ามแขกมาค้างบ้าน
- ห้ามชักฟืนออกจากเตา ขณะประกอบอาหาร ฯลฯ

เสร็จแล้วหมอกับมะก็จะขี่ช้างต่อมุ่งหน้าสู่ป่า ที่เป็นสถานที่ตั้งศูนย์คชศึกษา โดยหมอช้างจะนั่งอยู่ที่ท้ายช้างถัดจากโทน และเนื่องจากการออกไปคล้องช้างป่ามีข้อห้ามหลายข้อ โดยเฉพาะคนที่จะไปคล้องช้างป่าได้จะต้องเป็นหมอช้างเท่านั้น ดังนั้นก่อนจะเดินทางใครที่ยังไม่เคยออกคล้องช้างคือไม่เคยปะชิหมอเป็นหมอช้างมาก่อน กรรมหลวงหรือครูบาใหญ่หัวหน้าคณะโพนช้างก็จะทำพิธีปะชิให้

พิธีประชิหมอ
คือ พิธีแต่งตั้งหมอใหม่ ซึ่งเป็นการแต่งตั้งควาญช้าง หรือมะที่ไม่เคยออกโพนช้างหรือเคยแต่อยู่ในตำแหน่งของมะ คือ “ท้ายช้าง” ขึ้นเป็นหมอใหม่ การประชิหมอนี้กรมหลวง จะเป็นผู้ประกอบพิธีที่จัดสร้างขึ้นง่าย ๆ เสร็จแล้วกรมหลวงก็จะซักซ้อมความเข้าใจ เกี่ยวกับกฏกติกาข้อปฏิบัติตนรวมถึงข้อห้ามต่าง ๆ ที่ต้องยึดถือตลอดระยะเวลา ที่ออกเดินทางไปคล้องช้างป่าให้ทราบโดยทั่วกัน ข้อห้ามต่าง ๆ ได้แก่ห้ามสูบบุหรี่บนหลังช้าง ห้ามสูบบุหรี่ในที่พักช้าง ห้างกินตับและไขมันต่าง ๆ ยกเว้นหมอช้างที่อยู่ขวาของกอง คือ หมอสะดำ นอกจากนี้ ห้ามพูดภาษาอื่นให้พูดเฉพาะภาษาผี

ลำดับหมอช้าง
- กรรมหลวง (ครูบาใหญ่) เป็นหมอช้างอันดับสูงสุด โดยในแต่ละพื้นที่จะมีเพียงคนเดียว ถือเป็นเจ้าเถื่อนสามารถประกอบพิธีทุกอย่างในนามของพระครูได้
- ครูบา คือหมอช้างในตำแหน่งสะดำที่ได้รับแต่งตั้งจากครูบาใหญ่หรือกรรมหลวงให้เป็น
หัวหน้ากองขบวนช้างต่อ
- หมอสะดำ เป็นหมอเบื้องขวา จับช้างป่าได้ตั้งแต่ 6 – 10 ตัว และได้รับการแต่งตั้ง
- หมอสะเดียง เป็นหมอเบื้องซ้าย จับช้างป่าได้ตั้งแต่ 1 – 5 ตัว และได้รับการแต่งตั้ง
- หมอจา คือหมอใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้ง แต่ยังจับช้างไม่ได้เลย
- มะ คือ ผู้ช่วยหมอช้างจะนั่งอยู่ตอนท้ายของช้างต่อทุกเชือก

ภาษาผี
กฏกติกาในการออกไปโพนช้างของชาวกวยมีอยู่มากมายที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และที่น่าสนใจก็คือการกำหนดให้ทุกคนที่ติดตามคณะหมอช้างออกไปคล้องช้างพูดกันด้วยภาษาที่ปกติจะไม่พูดกันซึ่งเรียกว่า “ภาษาผี” ภาษาผีเป็นภาษารหัสที่เข้าใจกันในหมู่พวกกวยคล้องช้าง ภาษาผีที่น่าสนใจเช่น “ฮ่องจาว” แปลว่า ลำห้วย “กำพวด” แปลว่า กองไฟ “ใจดี”  แปลว่า พริก “จังวา” แปลว่า ปลาต่าง ๆ  “อ้วน”  แปลว่า น้ำเป็นต้น

ระเบียบในการโพนช้าง
นอกจากการใช้ภาษาผีแล้ว ผู้ร่วมขบวนคล้องช้างต้องเซ่นหนังประกรรม ก่อนรับประทานอาหารทั้งเช้าและเย็นทุกวัน ขณะหยุดพักช้างที่ใดต้องยกหนังประกรรมลงวางใกล้หมอสะดำห้ามข้ามหนังประกรรม ห้ามร้องรำทำเพลงหรือทะเลาะวิวาทกันตลอดการเดินทาง ห้ามช้างต่ออื่นเดินนำครูบาใหญ่โดยทั้งหมดต้องเดินเรียงกันตามลำดับชั้นของหมอ  ขณะเข้าคล้องช้างป่าทุกคนก็ห้ามใส่เสื้อผ้านุงกางเกงใด ๆ ยกเว้นผ้าโจงกระเบน และเมื่อออกเดินทางไปจับช้างป่าห้ามทุกคนเรียกชื่อเดิมกัน แต่ให้เรียกตำแหน่งตามด้วยชื่อช้างต่อ เป็นต้น กฏระเบียบทั้งหลายนี้กรรมหลวงจะประชุมชี้แจงจนเข้าใจ ก่อนจะยกขบวนเดินทางจากหมู่บ้านเข้าสู่ป่าใหญ่อันเป็นที่อยู่ของช้างป่า

เส้นทางโพนช้าง
เดิมทีในสมัยที่ป่าดงในภาคอีสานยังอุดมสมบูรณ์ และทางราชการยังอนุญาตให้จับช้างป่า เส้นทางการคล้องช้างของชาวตากลางจะอยู่ไม่ไกลนัก แต่ต่อมาภายหลังจากการสูญเสียพื้นที่ป่าจำนวนมหาศาล ทำให้ปริมาณช้างป่าลดลงเส้นทางของขบวนคล้องช้าง จึงมุ่งลงทางใต้และทางตะวันออก โดยใช้เส้นทางผ่านช่องเขาพนมดงรัก ผ่านไปในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เข้าสู่ป่าในเขตประเทศกัมพูชา แล้วลัดเลาะติดตามหาโขลงช้างป่า ไปในทางตะวันออกเรื่อยไปจนถึงแขวงจำปาศักดิ์

ขบวนช้างต่อ
เสียงเป่าเสนงเกล (แตรที่ทำจากเขาควาย) ดังไปทั่วหมู่บ้านในละแวกใกล้เคียงเพื่อบอกกล่าวผู้เป็นญาติมิตร ตลอดจนบุตรธิดาและภรรยา ให้ได้ทราบว่าการเดินทางที่ยาวนานและเต็มไปด้วยอันตรายของผู้เป็นที่รักได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว พวกเขาจะกลับมาหรือไม่ ถ้ากลับจะกลับมาเมื่อไร ในสภาพอย่างไร นี่คือคำถามในใจของทุกคน แต่สิ่งเดียวที่คนอยู่ทางบ้านจะกระทำได้ ดี่ที่สุดเพื่อแสดงความรักความเป็นห่วงต่อสมาชิกที่ร่วมขบวนโพนช้าง ก็คือ การรักษาคำมั่นสัญญาต่อประกรรม นับแต่นี้ไปทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อห้ามทุกข้ออย่างเคร่งครัดที่สุด ขบวนช้างต่อนำโดยกองช้างของกรรมหลวงซึ่งเป็นกองที่อนุโลมให้กำหลวงอยู่ในตำแหน่ง สะดำติดตามด้วยกองที่เหลือ โดยทุกกองจะเดินกันตามมาลำดับชั้น ทั้งหมดจะรอนแรมมุ่งสู่ถิ่นช้างป่า ถึงเวลาหยุดพักก็จะพักกันเป็นชมรม แต่ละชมรมจะอยู่ใกล้ ๆ กันตามที่แบ่งไว้

พิธีเบิกไพร
เมื่อเดินทางถึงป่าที่จะคล้องช้าง กรรมหลวงจะสั่งให้ยกศาลขึ้นเพื่อเซ่นบวงสรวงเจ้าป่าแล้วให้หมอสะดำ 3- 4 คนไปล่าสัตว์มาเป็นเครื่องเซ่น หลังจากนั้นกรรมหลวงกับหมอช้างและมะทั้งหมด ต้องจัดหาบุหรี่ 2 มวน เทียน 2 เล่ม กรวยใส่หมากพลู 2 กรวย แล้วจึงนำไม้คัยจามและเชือกผูกไม้ตีท้ายช้างของมะกับของเซ่นไหว้ทั้งหมดขึ้นไว้บนศาล พวกหมอและมะทั้งหมดจะยืนอยู่หน้าศาลเพียงตา แล้วกรรมหลวงก็จุดเทียนบูชากล่าวชื่อป่า ที่จะทำการคล้องช้างและป่าที่มีบริเวณติดต่อกันเป็นภาษาเขมร

วิธีโพนช้าง
หลังจากพิธีเบิกไพร คณะคล้องช้างก็เคลื่อนขบวนออกสังเกตรอยช้างป่าว่าในป่านั้นมีช้างอยู่หรือไม่ ถ้าพบร่องรอยมีมาก กรรมหลวงจะสั่งให้หยุดพักแล้วกรรมหลวงก็จะส่งหมอเสดียงกับหมอจาออกแกะรอยช้างป่าที่เห็น เพื่อหาตำแหน่งที่แน่นอนของโขลงช้างป่า ถ้าติดตามหาไม่พบ แสดงว่าช้างป่าได้เคลื่อนย้ายไปยังป่าอื่นแล้ว ก็จะยกขบวนออกติดตามหาร่องรอยช้างป่าในป่าอื่นต่อไป แต่ถ้าติดตามไปพบช้าง ก็ให้ขึ้นต้นไม้สังเกตดูว่า มีลูกช้างมากน้อยแค่ไหน แล้วกลับมารายงานกรรมหลวง เมื่อกรรมหลวงพิจารณาแล้ว หากเห็นว่าคล้องได้ ก็จะสั่งให้ทุกคนเอาโทนและเสบียงลงจากหลังช้าง เหลือไว้อุปกรณ์ในการคล้องช้าง เมื่อจัดช้างต่อทุกเชือกแล้ว กรรมหลวงก็ชักช้างต่อ นำขบวนเข้าหาโขลงช้างป่า จนใกล้พอที่จะได้ยินเสียงช้างป่าหากิน แล้วจึงสั่งแกช้าง กระจายกองเข้าล้อมโขลงช้างป่าเป็นวงกลม ทั้ง 4 ทิศแล้วหมอช้างทั้งหมด ก็ไสช้างเข้ากลางวง โขลงช้างป่าได้ยินเสียงช้างต่อก็แตกตื่นพยายามหนีออกจากวงล้อม ตัวไหนวิ่งไปทางหมอคนไหนหมอคนนั้นคะเนดูเห็นว่าขนาดพอจะคล้องได้ลักษณะสวยงาม ก็จะไสช้างเข้าปะกบ มะก็จะช่วยตีท้ายช้างต่อ ให้เร่งฝีเท้าตามไปจนทัน เมื่อได้ระยะหมอช้างซึ่งนั่งอยู่ที่คอช้าง ก็จะยื่นไม้คันจามที่ติดกับเชือกบาศก์วางดักที่หน้าเท้าหลังของช้างป่า หากเชือกบาศก์คล้องติดขาช้างป่าแล้วหมอช้างก็จะกระตุกให้รัดข้อเท้า แขนนางที่เป็นส่วนหนึ่งของเชือกบาศก์ ที่เป็นรูเสียบไม้คันจามก็จะหลุดจากปลายไม้คันจาม  ช้างป่าก็จะลากเชือกประกรรมไป ขณะที่หมอช้างจะทิ้งไม้คันจามและกองหนังประกรรมจากหลังช้าง ต่อจากนั้นช้างต่อกับช้างป่า ก็จะปะลองกำลังดึงกันไปมา เพราะปลายข้างหนึ่งของเชือกบาศก์หรือเชือกประกรรมนี้จะผูกไว้กับคอช้างต่อ ช้างต่อจะดึงจนช้างป่าอ่อนแรงหมอช้างก็จะไสช้างต่อเข้าหาต้นไม้ใหญ่ วนช้างรอบต้นไม้สามรอบแล้วให้มะลงจากช้าง แล้วมัดปลายเชือกประกรรมไว้กับต้นไม้ ช้างต่อของใครที่คล้องช้างลูกคอได้ ก็จะต้องทำการเซ่นหนังประกรรมของตนพิเศษ

พิธีปะสะ
ในระหว่างที่เข้าประกรรมหรือในระหว่างออกโพนช้างนี้ หากปรากฏว่าใครในคณะคล้องช้าง เกิดทำผิดข้อห้ามข้อใดข้อหนึ่ง หรือคล้องช้างได้ลักษณะต้องห้าม จะต้องเข้าพิธีปะสะ ซึ่งเป้นพิธีชำระโทษปัดเสนียดจัญไรให้กับคนผู้คล้อง ในส่วนพิธีปะสะที่มีสาเหตุมาจากคล้องช้างโทษได้นี้ จะต้องจัดขึ้นภายใน 7 วัน หลังเกิดเหตุ โดยกรรมหลวงเป็นผู้ประกอบพิธีให้ แต่สำหรับการปะสะให้คนที่ฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับการโพนช้างนั้น กรรมหลวงจะนำผู้ฝ่าฝืนนั้นไปปัดเป่าและล้างบาปในแม่น้ำลำคลอง เมื่อปัดเป่าเสร็จแล้วก็สั่งให้ผู้นั้นดำน้ำ 1 ผุด ก็จบพิธีล้างบาปถือว่าผั้นสะอาดแล้ว สามารถกลับเข้าขบวนโพนช้างได้ดังเดิม

การลาประกรรม
เมื่อกรรมหลวงเห็นว่าขบวนโพนช้างจับช้างได้มากพอสมควร และข้าวสารก็เหลือน้อยแล้วก็จะปรึกษากับคณะทั้งหมด สั่งให้ยกขบวนกลับหมู่บ้าน เมื่อกลับมาถึงบริเวณป่าใกล้บ้าน กรรมหลวงก็จะสั่งให้ช้างต่อที่นำช้างลูกคอมาด้วย นำไปผูกไว้ตามต้นไม้หนึ่งเชือกต่อหนึ่งต้น ส่วนช้างที่ไม่มีช้างลูกคอก็ให้พักช้างนำข้างของเครื่องใช้ลงจากหลังช้าง ส่วนเชือกประกรรมนั้นให้นำมาไว้รวมกัน เมื่อช้างต่อทั้งหมดทั้งมะและหมออันดับต่าง ๆ มาพร้อมกันแล้ว กรรมหลวงก็นั่งยอง ๆ หันหน้าไปทางกองหนังประกรรมของหมอจา ส่วนทั้งมะและหมอทุกคนจะถือเทียนที่จุดแล้วคนละเล่มนั่งยอง ๆ อยู่ข้างหลัง เมื่อส่งเทียนเหล่านี้ให้กับกรรมหลวงทุกคนแล้วก็กล่าวคำลาผีประกำ เมื่อกล่าวคำลาผีประกรรมเสร็จแล้ว กรรมหลวงก็จะให้มะแก้เชือกที่ผูกไม้ตีท้ายช้าง ออกจากเอวส่งให้กรรมหลวง กรรมหลวงจะดึงเอาเชือกมาเผาไฟแล้วส่งคืนให้มะ จนหมดทุกคน เป็นอันเสร็จพิธีลาผีประกรรม จากนี้ไปทุกคนก็จะประพฤติตนตามปกติได้

การเซ่นประกรรมและการแบ่งส่วนช้าง
หมอและมะจะจัดแจงขนหนังประกรมและข้าวของขึ้นช้างต่อ แล้วนำช้างลูกคอของตนกลับสู่หมู่บ้าน เมื่อเข้าไปใกล้หมู่บ้านของใคร หมอช้างก็จะขี่ช้างต่อนำช้างลูกคอไปผูกไว้กับต้นไม้ ปล่อยช้างลูกคอไว้ที่นั่น ส่วนหมอก็ขี่ช้างต่อกลับเข้าหมู่บ้าน แล้วจึงนำหนังประกรรมลงจากหลังช้างต่อไป เก็บไว้บนศาลตามเดิม หลังจากที่จับช้างได้ก็จะทำการแก้บนตามที่บนบานเอาไว้ ส่วนรายละเอียดการแบ่งกรรมสิทธิช้างลูกคอนั้น ชาวกวยมีกติกาว่าเจ้าของช้างต่อจะได้สิทธิ 2 ส่วนครึ่ง ผู้เป็นหมอได้ 2 ส่วน และมะได้  1 ส่วนครึ่ง รวมแล้วช้างลูกคอ 1 เชือก จะแบ่งเป็น 6 ส่วน แต่สำหรับช้างต่อที่ขอยืมคนอื่นมานั้น จะต้องผลัดเปลี่ยนกันเลี้ยงดูคนละเดือนไป จนกว่าจะขายได้แล้ว จึงแบ่งส่วนกันตามกติกาตามที่กล่าวมา แต่ในกรณีที่หมอช้างยืมช้างต่อผู้อื่นไปแล้ว เกิดล้มตายไประหว่างทางหรือจับช้างป่าไม่ได้นั้น ชาวกวยวางกติกาไว้ให้ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย