วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

ชาติพันธุิ์

ชาติพันธุิ์
Skip to main content
หน้าแรก Toggle navigation
ชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ ชาติพันธุ์ส่วย (Suay)
ชาติพันธุ์ส่วย (Suay)
ชาติพันธุ์ส่วย (Suay)
ชาติพันธุ์เขมร (Khmer)
ชาติพันธุ์ลาว (Laos)
ชาติพันธุ์เยอ (Yer)
แผนที่จัดหวัดศรีสะเกษ
แสดงแผนที่ขนาดใหญ่
เป็นคนอีกเผ่าหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในด้านวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พี่น้องชาวส่วยมีกระจายอยู่หลายจังหวัดทางภาคอีสานตอนล่าง คือ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และมีบ้างประปรายที่อุบลราชธานี นครราชสีมา มหาสารคามและร้อยเอ็ด ที่มีอยู่หนาแน่น ได้แก่ ศรีสะเกษ

ชาติพันธุ์และความหมาย
กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้ เรียกตนเองว่า กูย กุย โกย หรือ กวย ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะการออกเสียงของแต่ละถิ่นและพบว่าตำราที่เขียนเป็นภาษาต่างประเทศ ก็เขียนแตกต่างกันตามวิธีคิดของผู้ศึกษาค้นคว้าแต่ละคนเช่นเดียวกัน เช่น เขียนว่า kuy, kui, koui, kouei และ kouai

ถึงแม้ชนพื้นเมืองจะออกเสียงสระแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น ชนพื้นเมืองต่างก็ให้ความหมายของคำว่า กูย กุย โกย หรือ โกย ไว้อย่างมีเอกภาพ คือมีความหมายว่า คน ทั้งสิ้น การให้ความหมายไว้ในลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมสะท้อนให้เห็นหรือทัศนะการมองโลกว่า กลุ่มของตนเองนั้น มีสถานภาพที่แตกต่างจากสัตว์ และมีความเท่าเทียมกันกับมนุษย์ในวัฒนธรรมอื่น ๆ เสมอ ความคิดนี้อาจเกิดจากการที่ชาวกูยถูกเรียกจากคนลาวหรือคนไทยว่า ส่วย อันหมายถึงสิ่งของที่ต้องนำส่งให้ชนชั้นผู้ปกครอง แสดงถึงความต่ำต้อยความเป็นขี้ข้า ความล้าหลัง ความด้อยกว่าชนเผ่าอื่น เพื่อมิให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชนกลุ่มนี้ จึงเสนอให้ใช้คำว่า กูย เพียงคำเดียว

ถิ่นฐานของชาวกูยในประเทศไทย
เนื่องจากชาวกูยตั้งถิ่นฐานปะปนกับชาวเขมรสูงและชาวลาว จึงมีการติดต่อแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมกันมาตามวิสัยและทำให้ชาวกูยถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเขมรสูงและวัฒนธรรมลาว ดังจะเห็นได้จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่ตั้งเมืองสุรินทร์ใหม่ ๆ นั้นมีคนกูยทั้งเมือง ชาวเขมรสูงมีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย แต่นานวันเข้าวัฒนธรรมของเขมรสูงก็ค่อยเข้ามามีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมของชาวกูย ชาวกูยจึงถูกกลืนเข้าไปเป็นคนเขมรเกือบหมด

เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ จังหวัดศรีสะเกษยังเป็นเมืองที่มีชาวกูยอาศัยอยู่กันทั้งเมือง มีพวกลาวเวียง (สาขาเวียงจันทน์) ปะปนอยู่บ้างบางหมู่บ้าน แต่วัฒนธรรมของลาวได้เข้ามามีอิทธิพลในหมู่ชาวกูย จึงทำให้มีการผสมผสานวัฒนธรรม ชาวกูยที่นี่พูดภาษาลาวด้วยสำเนียงส่วยโดยสามารถใช้สระเอือได้ ในขณะที่ภาษาลาวเวียงเดิมมีแต่สระเอีย ร่องรอยที่แสดงว่าศรีสะเกษเดิมเป็นเมืองที่ชาวกูยอยู่กันทั้งเมืองก็คือตังเลขสำมะโนครัวสมัยนั้นและการเรียกขานชาวศรีสะเกษว่า ส่วยศรีสะเกษ อยู่จนทุกวันนี้ ด้วยสาเหตุที่จะดัดแปลงพัฒนาตนเองให้เข้ากบวัฒนธรรมที่ตนคิดว่าสูงกว่าดีกว่า จึงทำให้ภาษาและวัฒนธรรมกูย นับวันแต่จะหมดสิ้นไป

ภาษาของชาวกูย
ภาษาดั้งเดิมของมนุษย์ที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภาษาออสโตรเนเชียน (Austronesian) ซึ่งเป็นภาษาคำติดได้แก่ ภาษาชวา-มลายู และภาษาจาม ซึ่งเดิมมีประชากรอยู่ในเวียดนามและรวมพวกข่าระแด ข่าจะรวย ซึ่งเป็นสาขาย่อยของพวกข่าเข้าด้วยกัน

นักภาษาศาสตร์ จัดภาษากูยอยู่ในกลุ่มภาษาเดียวกับภาษามอญ-เขมร สาขา katuic ตะวันตก ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก ชาวกูยแต่ละถิ่นจะมีการใช้สำเนียงภาษาที่แตกต่างกันไป แต่ถ้าหากใช้ระบบเสียงมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งอาจแบ่งภาษากูยออกได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มภาษากูย (กุย-กูย) และกลุ่มภาษากวย (กูย-กวย) ส่วนภาษากูยกลุ่มเล็กๆ ที่พบได้แก่

กูยเยอ (kui nhe) พูดกันในหมู่บ้าน ๑๐ หมู่บ้าน ในอำเภอศรีสะเกษ ๕ หมู่บ้านในอำเภอไพรบึง และ ๔ หมู่บ้านในอำเภอราษีไศล มีประมาณ ๘,๐๐๐ คน
กูยไม (kui nthaw/kui m’ai) พูดใน ๕ หมู่บ้านในอำเภอราษีไศล ๙ หมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียง เขตอำเภออุทุมพรพิสัย หมู่บ้านทั้งหมดนี้ ชาวกูยจะอาศัยรวมอยู่กับชนกลุ่มลาว
กูยปรือใหญ่ (kui pui jai) พูดใน ๕ หมู่บ้านของตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์
ภาษากูยถิ่นปรือใหญ่ สันนิษฐานว่าอาจเป็นตัวแทนของกลุ่มกูยที่เพิ่งอพยพมาจากเขมร จากบริเวณมะลูไปร (มโนไพร, มะลูเปร) ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสตึงเตรง ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองกำปงธมและเมืองกำปงสวาย ส่วนกลุ่มภาษากุย-กูย ถือว่าเป็นประชากรกลุ่มใหญ่กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

ในปัจจุบัน ชาวกูยส่วนใหญ่พูดได้ทั้งภาษากูยและภาษาไทยกลาง ในชุมชนกูยที่ไม่มีผู้พูดภาษาไทยถิ่นอีสานอาศัยปะปน จะไม่มีการใช้ภาษาไทยถิ่นอีสาน ในชุมชนกูยที่มีคนเขมรและคนลาวอาศัยปะปนกัน จะพูดภาษากันและกันได้

คนไทยรู้จักพวก กวย กุย กูย ในฐานะชนชาติหนึ่งมานานแล้ว ในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ.๑๙๗๔ ปีกุน รัชกาลเจ้าสามพระยา (รัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒)ได้ประกาศห้ามยกลูกสาวให้แก่คนต่างชาติต่างศาสนา ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ กปิตัน วิลันดา กุลา ชวา มลายู แขก กวย แกว และในมาตรา ๒๕ ของกฎหมายปีเดียวกันนั้น ก็กล่าวถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศสยาม ว่ามีแขกพราหมณ์ ญวน (แกว) ฝรั่ง อังกฤษ จีน จาม วิลันดา ชาว มลายู กวย ขอม พม่า รามัญ แสดงว่า กวยเป็นชนอิสระอีกชนชาติหนึ่ง

ไพฑูรย์ มีกุศล อธิบายไว้ว่าจากกฎหมายฉบับ พ.ศ.๑๙๗๔ ได้ระบุว่าพ่อค้าจากดินแดนใกล้เคียง ที่เดินทางเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาได้แก่ ชาวอินเดีย มาเลย์ ชาน (ไทยใหญ่) แกว กวย ซึ่งเรียกตนเองว่า กวยหรือกุย หรือกูย ตามภาษาพูดของตนเอง และยังมีหลักฐานสำคัญที่ระบุเวลาอยู่ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ได้กล่าวถึงกษัตริย์ของเขมรที่นครธมได้ทรงขอให้กวยแห่งตะบองขะมุม ที่มีเมืองสำคัญทางตอนใต้ของเมืองนครจำปาศักดิ์ให้ส่งทหารไปช่วยพระองค์ปราบขบถ เมื่อกองทัพของพระเจ้าธรรมราชาแห่งนครธม และเจ้ากวยแห่งตะบองขะมุมได้ปราบขบถสำเร็จแล้ว ประมุขของทั้งสองฝ่ายได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ เหตุการณ์ภายหลังจากนี้ไม่ระบุในที่อื่น ๆ อีกเลย จึงกล่าวได้ว่าชนชาวกวยเคยมีการปกครองเป็นอิสระในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เคยส่งทูตมาค้าขายกับราชสำนักอยุธยา และเคยช่วยกษัตริย์เขมรแห่งนครธมปราบขบถได้สำเร็จ ต่อมาเขมรปราบปรามกวยได้และรวมอยู่ใต้การปกครองของเขมร

ไพฑูรย์ สุนทรารักษ์ กล่าวว่ากูยเป็นเผ่ามอญเขมรเดิมพวกหนึ่งเรียกว่า เชื้อชาติมุณฑ์ ซึ่งอพยพมาจากอินเดียเมื่อครั้งถูกอารยันรุกราน โดยอพยพมาทางตะวันออกจนถึงลุ่มแม่น้ำดง (สาละวิน) และแม่น้ำของ (โขง ) ตอนบน พวกที่อพยพไปทางแม่น้ำคงกลายเป็นบรรพบุรุษของพวกมอญหรือรามัญ พวกผู้ที่อพยพไปตามแม่น้ำของ (โขง) บางพวกไปอาศัยอยู่ตามที่ราบสูงแถบเทือกเขาด็องแร็ก (ดงรัก) บางพวกเลยไปถึงที่ราบต่ำบริวณทะเลสาบใหญ่และชายทะเล ต่อมาได้กลายเป็นบรรพบุรุษของพวกเขมรหรอแขมร์ และพวกที่อยู่ตามป่าเขาต่าง ๆ เรียกว่า ลั้วะ ข่า ขมุ ส่วย กวยหรือกูย แตกต่างกันไป

จากหลักฐานอ้างอิงที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ชนเผ่ากุย กูย กวย ได้มีภูมิลำเนาเดิมอยู่เป็นปึกแผ่นมีอาณาเขตปกครองตนเองอยู่อย่างมั่นคงมาก่อน จนเป็นที่ยอมรับจากต่างชาติเช่นเดียวกับชนชาติอื่น ๆ หลักฐานที่อ้างถึงได้ชี้ชัดเจนว่าเป็นช่วงศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ ได้มีอาณาจักรของชนเผ่ากูยตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้อย่างแน่นอน และสันนิษฐานว่าจะอยู่ตอนใต้ของลาว และตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา โดยอาณาจักรดังกล่าวนี้ มีความสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยาด้วย

ชาวกูยชอบอพยพเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ เพื่อแสวงหาที่ดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก นอกเหนือจากอยู่ในประเทศกัมพูชาแล้ว ชาวกูยยังมีมากในบริเวณเมืองอัตปือแสนปาง จำปาศักดิ์และสาละวัน ในบริเวณตอนใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชิธิปไตยประชาชนลาว แต่เนื่องจากต้องประสบภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม หรือฝนแล้ง รวมทั้งภัยทางการเมือง ชาวกูยจึงอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ภาคอีสาน ซึ่งชาวกูยเรียกแก่งกะซันพืด ( แก่งงูใหญ่ ) และในเขตอำเภอโขงเจียม ซึ่งชาวกูยเรียกว่า โพงเจียง (ฝูงช้าง) หลังจากนั้นลูกหลานชาวกูย ก็แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือน ที่ จังหวัดอุบลราชธานี ที่บ้านเจียงอี ซึ่งภาษากูย แปลว่าช้างป่วย ในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน นับว่าในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ กูย ลาว เขมร ชาวกูยเป็นชนชาติดั้งเดิม ที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่ของอีสานใต้เป็นกลุ่มแรก

การอพยพเข้ามาในประเทศไทยทางตอนล่างของภาคอีสานนั้น เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑) และได้มีการอพยพครั้งใหญ่เข้ามาใน จังหวัดสุรินทร์ และศรีสะเกษอีก ในยุคปลายของกรุงศรีอยุธยาไปจนถึงสมัยธนบุรี (พ.ศ.๒๒๔๕-๒๓๒๖) ชาวกูยแต่ละกลุ่มที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่ง หรือหาบริเวณล่าช้างแหล่งใหม่ เพราะชาวกูยมีความชำนาญในการเดินป่า การล่าช้างและฝึกช้าง การอพยพได้หยุดลงในสมัย รัชกาลที่ ๔ ในเวลาต่อมาได้มีการโยกย้ายไปอยู่ยังจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดมหาสารคาม ชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ เรียกหมู่บ้านที่ชาวกูยที่ชาวกูยโยกย้ายไปว่าเป็น หมู่บ้านใหม่ การใช้ภาษาระหว่างชาวกูยกลุ่มเดิม และกลุ่มที่โยกย้ายยังคงมีความเข้าใจกันได้เป็นอย่างดี เพราะยังติดต่อกันอยู่

ประวัติความเป็นมา
ตำนานของชาวเยอในศรีสะเกษ จะเริ่มต้นที่ พญากตะศิลา เป็นหัวหน้านำคนเผ่าเยอ อพยพมาโดยทางเรือ มาตั้งเมืองคงโคกหรือเมืองคงปัจจุบันนี้ ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ และเป็นเส้นทางคมนาคมในการติดต่อค้าขาย มูลเหตุของการตั้งชื่อเมืองอาจมาจาก การที่พื้นที่เหล่านี้อาจมีป่ามะม่วงมาก่อนแล้ว หรือมีการปลูกไม้ผล เช่น ขนุน มะม่วง มะนาว มะพร้าว ฯลฯ ผลไม้ที่ปลูกง่ายและให้ผลเร็ว คือมะม่วง มะม่วงภาษาเยอเรียกว่า เยาะค็อง หรือ เยาะก็อง ต้นมะม่วงมีอยู่จำนวนมาก จึงเรียกเมืองตัวเองว่า เมืองเยาะค็อง หรือเพี้ยนไปเป็นเมืองคอง – เมืองคง ในที่สุด ปัจจุบันมีรูปปั้นพญากตะศิลาที่บึงคงโคก บ้านหลุบโมก ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่เคารพของชาวเยอ และมีกาบวงสรวงในวันเพ็ญเดือนสามของทุกปี

การอพยพของพญากตะศิลา เป็นคำบอกเล่าที่น่าสนใจ เพราะใช้เรือส่วง (เรือยาวที่ใช้พายแข่งขันกัน) ๒ ลำ เรือลำที่ ๑ ชื่อ คำผาย เรือลำที่ ๒ ชื่อ คำม่วน แต่ลำบรรจุคนได้ประมาณ ๔๐-๕๐ คน พายจากลำน้ำโขงเข้าปากแม่น้ำมูล รอนแรมทวนกระแสน้ำขึ้นมาเรื่อย ๆ ผ่านเมืองไหนก็บอกกล่าวเจ้าเมืองนั้นว่าจะไปตั้งเมืองใหม่อยู่ เจ้าเมือง ๆ นั้นก็ให้ไปเลือกอยู่ตามที่เห็นเหมาะสม ถึงบ้านท่า ตำบลส้มป่อย ก็พาไพร่พลแวะพักแรม รุ่งขึ้นวันใหม่ก็นำพวกออกสำรวจหาพื้นที่ตั้งเมือง มาเห็นเมืองร้างเป็นเนินดินสูงมีคูน้ำล้อมรอบ ที่บึงคงโคกทุกวันนี้ เห็นว่ามีสภาพภูมิประเทศเหมาะสม ก็นำไพร่พลตั้งบ้านเรือน ปัจจุบันที่เมืองคงโคกมีศาล และรูปปั้นของพญากตะศิลา เป็นที่เคารพสักการะบนบานของชาวบ้านเป็นประจำ

ต่อมาเมื่อจำนวนพลเมืองเพิ่มมากขึ้นก็ขยายกันมาอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่บ้านกลาง บ้านใหญ่ บ้านโนน และบ้านท่าโพธิ์ รวมเรียกว่าเมืองคง เวลาผ่านไปมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงอพยพไปตั้งหมู่บ้านใหม่ในที่ต่าง ๆ เช่น ทิศเหนือ ที่บ้านหว้าน ทิศใต้ข้ามลำน้ำมูล ที่บ้านค้อเยอ บ้านขมิ้น บ้านโนนแกด อำเภอเมืองศรีสะเกษ บางส่วนเลยไปที่บ้านโพนปลัด อำเภอพยุห์ บ้านปราสาทเยอ บ้านประอาง อำเภอไพรบึง ทางทิศตะวันตกไปที่บ้านกุง บ้านเชือก บ้านจิก บ้านขาม และบางส่วนเลยทุ่งกุลาร้องไห้ไปที่บ้านอีเม้ง บ้านหัวหมู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ศาสนา พิธีกรรม และความเชื่อ
ความเชื่อทางศาสนาของชาวกูยมีลักษณะผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธและการนับถือผี (animism) ภายในชุมชนชาวกูยจะมีทั้งวัดและศาลผีประจำหมู่บ้าน ชาวกูยบูชาผีบรรพบุรุษ ซึ่งเรียกว่า ยะจัวะฮ บนบ้านจะมีหิ้งบูชาผีบรรพบุรุษ มีธูปเทียนและกรวยที่เย็บจากใบตอง บางบ้านก็จะสร้างเป็นศาลผีบรรพบุรุษไว้ใกล้กับศาลเจ้าที่ บ้านที่ไม่มีหิ้งหรือศาลก็อาจจะไปไหว้ผีบรรพบุรุษที่หิ้งหรือศาลของญาติพี่น้อง บ้านส่วนใหญ่จะมีหิ้งบูชาพระพุทธรูปไว้ในบ้าน และจะสร้างศาลผีบรรพบุรุษไว้ใกล้บ้าน การเซ่นบรรพบุรุษจะกระทำอย่างน้อยปีละครั้ง ชาวบ้านจะเริ่มพิธีโดยเอาข้าวสุก เหล้า เนื้อสัตว์ที่สุกแล้ว กรวยใบตอง ผ้า สตางค์ หมากพลู เอามาวางไว้ใต้หิ้งบูชา ทำพิธีเซ่นโดยเอาน้ำตาลโรยบนข้าวสุก จุดเทียนปักลงที่ข้าว แล้วกล่าวขอให้ผีบรรพบุรุษคุ้มครองให้ครอบครัวเจริญรุ่งเรือง ในณะที่กล่าวก็เอาเหล้าค่อย ๆ รินลงขันอีกใบ เหมือนการกรวดน้ำเสร็จแล้วก็หยิบของที่ใช้เซ่นอย่างละนิดไปวางบนหิ้ง ที่เหลือก็เอาไว้รับประทานและใช้เอง

การเซ่นผีบรรพบุรุษนี้อาจจัดขึ้นในวาระอื่น ๆ เช่น เมื่อมีเด็กคลอดได้ ๒-๓ วัน ก็จะทำพิธีดับไฟ โดยบอกกล่าวหมอตำแย และญาติผู้ใหญ่มาร่วมพิธี จัดขนม กล้วย ข้าวต้มมัด มาเซ่นผีบรรพบุรุษบอกว่ามีลูกมีหลานมาเกิดใหม่ เด็กเมื่อคลอดแล้ว จะมี ครูกำเนิด ซึ่งเป็นครูประจำตัว จะต้องจัดเครื่องสักการะบูชาครูไว้บนหัวนอนของตนเองเสมอ ครูจะช่วยคุ้มครองให้มีความสุข ความเจริญ หากมีการผิดครูจะเป็นอันตราย

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

พิธีปะชิหมอช้างรุ่นสุดท้าย อัญเชิญบรรพบุรุษรับเครื่องเซ่นไหว้

 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่วัดป่าอาเจียง บ้านช้างหนองบัว ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ หลวงพ่อพระครูสมุห์หาญ ปญญาธโร เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ป่าอาเจียง ร่วมกับเจ้าหน้าที่คชอาณาจักร องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย นายบุญมา แสนดี อายุ 87 ปี หมอช้างใหญ่ ประจำหมู่บ้านช้าง ที่เคยออกคล้องช้างป่า ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก ชายแดนไทย-กัมพูชา ได้มากถึง 50 กว่าเชือก ร่วมกันประกอบพิธีเซ่นไหว้ศาลครูประกำช้าง ที่ควาญช้างคนเลี้ยงช้างเคารพนับถือเป็นที่สิงสถิตย์ พระหมอเฒ่า ต้นตำรับของตำนานคนคล้องช้าง และเป็นที่เก็บเชือกคล้องช้าง หรือเชือกประกำ ใช้คล้องช้างป่าในอดีต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประกอบพิธีนายบุญมา แสนดี ถือเป็นหมอช้างรุ่นสุดท้าย ได้นำบรรดาควาญช้างที่ได้รับการเลื่อนขั้นมาเป็นหมอช้าง ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เซ่นพระครูปะกำ อัญเชิญผีปะกำและวิญญาณบรรพบุรุษรับเครื่องเซ่นไหว้ ซึ่งเป็นพิธีที่ทำหลังจากพิธีประชิ เพื่อให้ได้เป็นหมอช้างที่สมบูรณ์ ถ้าเป็นคนก็เปรียบเหมือนการบวชนาคนั่นเอง และเมื่อประชิเสร็จแล้วก็จะเป็นหมอสะเดียงสามารถคล้องช้างได้ 1 ตัวขึ้นไป หมอสดัม คล้องช้างได้ 10 ตัว และตำแหน่งสูงสุดคือครูบาใหญ่ คล้องช้างได้นับสิบๆตัว