ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเชื่อ พิธีกรรม “การรำแกลมอ”
“กูย หรือ กวย” เป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมของ จ.สุรินทร์ ที่สืบเชื้อสายมาจากขอม ซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านวิชาคาถาอาคม มีอาชีพในการจับช้างและเลี้ยงช้างมานานหลายชั่วอายุคน ชอบอาศัยอยู่ในทำเลป่าดง คนเหล่านี้เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มที่พูดภาษา “ออสโตรเอเซียติก” ซึ่งมีเฉพาะภาษาพูด แต่ไม่มีภาษาเขียน เรียกกันว่า “ข่า ส่วย หรือ กวย” ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอจอมพระ ท่าตูม ศีขรภูมิ และ อ.สังขะ จังหวัดสุรินทร์ส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และบางหมู่บ้านของจังหวัดมหาสารคาม รวมทั้งจังหวัดนครราชสีมา ด้วยในปัจจุบันชนกลุ่มนี้ยังอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย ในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศกัมพูชา และทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นกลุ่มที่รู้จักกันในนามของ “ข่า” ซึ่งมีวัฒนธรรมด้านภาษาอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับชาวกุย และภาษากุย หลายคำเมื่อรวมเข้ากับภาษาเขมร จะมีรากศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาพูดของชาว “ไทโส้” ที่อาศัยอยู่ในอำเภอกุสุมาลย์ จ.สกลนคร ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกลุ่มคนที่สืบทอดศิลปวัฒนธรรมประเพณี ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว
หนึ่งในความเชื่อของ “ชาวกวยกูย” คือ การแสดง “แกลมอ” ซึ่งเป็นการแสดงที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่า ชาวกุยทุกคนจะมีดวงวิญญาณของบรรพบุรุษคอยปกป้องคุ้มครอง ปกปักรักษาอยู่ตลอดเวลา ในทุกๆ ปีชาวกุยจะจัดให้มีพิธีกรรมการแสดง “แกลมอ” เพื่อบูชาดวงวิญญาณบรรพบุรุษและสิ่งสิทธิ์ เพื่อเป็นการเสริมสร้างกำลังใจ ตลอดถึงการรักษาผู้ป่วยไข้เช่นเดียวกับการ “โจลมะม๊วด” ของชาวเขมร หรือ “โส้ทั่งบั้ง” ของชาวไทโส้ ในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งพิธีแกลมอ จะมีอยู่ 3 ประเภท คือ
1. การบูชาดวงวิญญาณบรรพบุรุษเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ
2. การประกอบพิธีกรรมเพื่อรักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณของบรรพบุรุษมาให้ความ
ช่วยเหลือ ขอคำแนะนำผ่านล่าม หรือ คนทรงเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วยและหาทางรักษาตาม
ความเชื่อ
3.การประกอบพิธีกรรมเพื่อเป็นการแก้บน หรือ สักการะตอบแทนดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ดลบันดาลให้ได้รับความสำเร็จตามคำขอของลูกหลาน
สรุปว่าการแสดง “แกลมอ” นี้ เป็นพิธีกรรมที่ส่งผลให้เกิดความร่มเย็น การอยู่เย็นเป็นสุขของคนในชุมชน โดยจะมีผู้นำประกอบพิธีกรรม หรือ “แม่หมอ” ทำหน้าที่ในการอัญเชิญดวงวิญญาณประทับร่าง มีนักดนตรีประมาณ 5-7 คน นางรำตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีเครื่องบวงสรวง เซ่นสังเวย จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับ พานบายศรี ดอกไม้ธูปเทียน เงิน ทอง เหล้า บุหรี่ หมากพลู ชุดขัน 5 ดาบ 1 เล่ม ไข่ไก่ 1 ฟอง ข้าวสาร และเครื่องประกอบอื่นๆ แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละชุมชน
พิธีกรรมจะเริ่มต้นจากการอัญเชิญดวงวิญญาณบรรพบุรุษมาเข้าประทับร่างแม่หมอ หรือ คนทรง ร่างของแม่หมอจะสั่นเทิ้มไปทั้งร่าง จากนั้นลูกหลานที่ร่วมพิธีจะผูกข้อมือให้แม่หมอ และแจ้งถึงความประสงค์ที่ได้อัญเชิญดวงวิญญาณของบรรพบุรุษมา เสร็จแล้วแม่หมอ หรือ คนทรงก็จะดื่มกินเครื่องซ่นสังเวย ก่อนที่จะลุกขึ้นฟ้อนรำไปรอบๆ เครื่องสักการะ ผู้ที่ร่วมอยู่ในพิธีก็จะมีอาการสั่นเทิ้มไปตามๆ กัน คนที่อยู่ใกล้ก็จะผูกข้อมือรับและผู้ที่มีอาการดังกล่าวก็จะลุกขึ้นฟ้อนรำไปรอบๆ เครื่องสักการะ เช่นเดียวกับแม่หมออย่างสนุกสนาน กินเวลาข้ามวันข้ามคืนเช่นเดียวกับพิธี “โจลมะม๊วด” ของ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น